ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วีระ ธีรภัทร

วีระ ธีรภัทร นักจัดรายการวิทยุ นักเขียน คอลัมนิสต์ และพิธีกรชาวไทย มีชื่อจริงว่า วีระ ธีระภัทรานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดพิจิตร

วีระจบการศึกษาชั้นมัธยม จากโรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จปริญญารัฐศาสตรบัณฑิต (ทฤษฎีการเมือง และปรัชญาการเมือง) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2521

วีระเริ่มการทำงานโดยเป็น ผู้ช่วยบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ ของหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ในปี พ.ศ. 2522 จากนั้นย้ายไปอยู่ที่ฝ่ายข่าวต่างประเทศ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ในปี พ.ศ. 2527 เนื่องจากมีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ จึงมีโอกาสติดตามคณะ ผู้บริหารประเทศและนักการเมือง ไปทำข่าวยังต่างประเทศ และมีความสนิทสนมกับหลายคน ในยุคที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

จนกระทั่งเมื่อเดลินิวส์เปิดหน้าข่าวเศรษฐกิจขึ้น ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจคนแรก มีคอลัมน์ประจำชื่อ "ปากท้องชาวบ้าน" ในทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เขาศึกษาเรื่องเศรษฐกิจด้วยตนเอง และเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่าง ๆ จนแตกฉาน เช่นหลักสูตรนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ของสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เมื่อปี พ.ศ. 2535 เป็นต้น จนกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญทางตลาดหลักทรัพย์คนหนึ่ง มีผลงานหนังสือหลายเล่ม ทั้งที่เขียนเอง และแปลจากภาษาอังกฤษ ทั้งเคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ระหว่างปี พ.ศ. 2531 - 2532

ต่อมาราวปี พ.ศ. 2537 วีระลาออกจากเดลินิวส์ ไปดำรงตำแหน่งบรรณาธิการอำนวยการ หนังสือพิมพ์วัฏจักร และจัดรายการวิทยุเป็นครั้งแรก เมื่อต้นปี พ.ศ. 2538 ทางสถานีวิทยุเอฟเอ็ม 101.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในชื่อรายการ "คุยเฟื่องเรื่องเงิน" ทุกวันศุกร์ เวลา 09.00-11.00 น. จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 หนังสือพิมพ์วัฏจักรปิดกิจการ วีระจึงออกมาจัดรายการ "คุยกันจันทร์ถึงศุกร์" ทางเอฟเอ็ม 97.0 เมกะเฮิร์ตซ์ "ตรีนิตีเรดิโอ" (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น แฟมิลีเรดิโอ) ในช่วงบ่ายวันทำงาน ซึ่งสามารถตอบปัญหาให้ผู้โทรศัพท์เข้ารายการได้ทุกเรื่อง ทั้งเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง สังคม หรือเรื่องปกิณกะอื่น ๆ ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น คือโผงผางเสียงดัง ทั้งยังตำหนิผู้โทรศัพท์เข้ารายการบางรายด้วย โดยในช่วง พ.ศ. 2541 - 2543 กล่าวกันว่าเป็นรายการวิทยุ ที่มีผู้ฟังมากที่สุดในช่วงบ่าย และยังจัดรายการ "เงินทองต้องรู้" ทางวิทยุเนชั่น เอฟเอ็ม 90.5 เมกะเฮิร์ตซ์ เวลา 10.00-11.30 น. อีกรายการหนึ่ง

จากนั้นในราวปี พ.ศ. 2542 - 2544 วีระเริ่มเขียนคอลัมน์ "เงินทองต้องรู้" และ "ปากท้องของเรา" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และเขียนคอลัมน์ "หอมปากหอมคอ" ประจำในหนังสือพิมพ์คมชัดลึกด้วย นอกจากนั้น เขายังเคยเป็นวิทยากรในรายการ "บ้านเลขที่ 5" อยู่ช่วงหนึ่ง รวมถึงเคยเป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์กับอุ้ม-สิริยากร พุกกะเวส ในช่วงสายวันเสาร์ เป็นวิทยากรคุยเรื่องเศรษฐกิจ ในรายการ "สยามเช้านี้" และ "สยามทูเดย์" ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ออกอากาศทาง ททบ.5 ระยะต่อมา เข้าร่วมเป็นพิธีกรรายการ "ตาสว่าง" เริ่มตั้งแต่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ระยะหลัง วีระลดความร้อนแรงในการจัดรายการลง โดยให้เหตุผลว่าเบื่อและอิ่มตัวแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อรายการทางเอฟเอ็ม 97.0 เมกะเฮิร์ตซ์เป็น "คุยได้คุยดี" และเปลี่ยนรูปแบบไปเป็น การเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวมากขึ้น ซึ่งต่อมารายการยุติลง ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตรายการ หมดสัญญาเช่าคลื่นกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จากนั้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 ร่วมจัดรายการ "ข่าวเป็นข่าว" เพิ่มขึ้นทางเอฟเอ็ม 105 เมกะเฮิร์ทซ์ "วิสดอมเรดิโอ" กับหลานชายคือ ณัฐพงษ์ ธีระภัทรานนท์ ในเวลา 08.00-09.00 น. ต่อมารายการยุติลงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เนื่องจากณัฐพงษ์เปลี่ยนไปทำงานผู้ประกาศและพิธีกรข่าวทางโทรทัศน์

ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551 วีระเป็นวิทยากรเศรษฐกิจในรายการตลาดเช้าข่าวสด ทางโมเดิร์นไนน์ทีวี ในทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดีเวลา 06.00-07.30 น. ต่อมายุติการร่วมรายการ และตัวรายการเปลี่ยนชื่อไปแล้ว, วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ไปร่วมจัดรายการ เช้านี้...ที่หมอชิต ทางช่อง 7 ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 06.00-07.30 น. ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยเขาร่วมรายการในช่วงข่าวเศรษฐกิจ เฉพาะวันจันทร์-พุธ-ศุกร์ เวลา 06.50-07.00 น. ต่อมายุติการร่วมรายการ ในวันที่ 30 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่า งานมากเกินไปจนทำไม่ไหว จากนั้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 เป็นพิธีกรสนทนารายการ "คุยนอกทำเนียบ" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 20.30-21.00 น. ปัจจุบันยุติรายการแล้ว

เริ่มจัดรายการคุยได้คุยดี Talk News & Music ทางสถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ คลื่นความคิด เอฟเอ็ม 96.5 เมกะเฮิร์ตซ์ ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 14.00-16.00 น. ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยหลังจากนั้นสามวัน ทางรายการสัมภาษณ์พิเศษ นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เกี่ยวกับการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในวันที่ 4 กันยายน นอกจากนี้ เนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีของรายการนี้ จึงมีการจัดทำคอมแพ็กต์ดิสก์ บันทึกเสียงที่เขาเล่าประวัติการทำงานของตนเอง เพื่อแจกให้ผู้ฟังรายการ โดยให้เหตุผลว่า ประวัติของตนที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ มีความคลาดเคลื่อนในหลายส่วน

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 วีระเริ่มเขียนคอลัมน์ "สีซอให้ควายฟัง" ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อคอลัมน์เป็น "เล่าเท่าที่รู้" โดยให้เหตุผลว่า คนอ่านอาจเข้าใจผิด คิดว่าผู้เขียนว่าคนอ่านเป็นควาย ต่อมาเขาเขียนในคอลัมน์ว่า จะยุติการเขียนคอลัมน์นี้ ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เป็นวันสุดท้าย เนื่องจากงานรัดตัว และช่วงนี้ไม่มีประเด็นน่าสนใจที่จะเขียนถึง

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอรายชื่อบุคคลเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 9 คน และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป โดยนายวีระเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อด้วย

วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 สภาผู้แทนราษฎรมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ทั้ง 9 คน เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติอีกชั้นหนึ่ง

หลังเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 นายวีระกล่าวทางรายการวิทยุที่ตนจัดหลายรายการว่าจะทยอยเลิกงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากรู้สึกว่าสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และความรู้สึกของตนเอง ไม่เหมาะสมที่จะจัดรายการแบบนี้อีกต่อไป อย่างไรก็ตามในเดือนตุลาคมนายวีระกล่าวว่าจะไม่เลิกจัดรายการคุยได้คุยดีแต่จะหยุดพักสองเดือนหรือหยุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและกลับมาจัดใหม่ในเดือนมกราคมปี 2554

วันที่ 29 กันยายน 2553 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณารายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญตรวจสอบคุณสมบัติผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 9 คน ตามที่ ครม.เสนอมาและคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อ จำนวน 9 คน ด้วยวิธีลงคะแนนลับผ่านซองลงคะแนน ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก โดย รศ.ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ได้ 245 คะแนนต่อ 88 งดออกเสียง 5 นายถาวร พานิชพันธ์ ได้ 242 ต่อ 88 งดออกเสียง 6 นายตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ได้ 237 ต่อ 90 งดออกเสียง 6 นายบัญชา เสือวรรณศรี ได้ 342 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 นายวีระ ธีระภัทรานนท์ ได้ 200 ต่อ 126 งดออกเสียง 12 พล.ต.อ.สมชาย ประภัสภักดี ได้ 339 ต่อ 8 งดออกเสียง 5 รศ.จุราพร ไวยนันท์ได้ 342 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 นายวินัย ดำรงค์มงคลกุล ได้ 344 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 และ นายมนัส สุขสวัสดิ์ได้ 354 ต่อ 5 งดออกเสียง 4 และขั้นตอนต่อจากนี้จะเสนอให้วุฒิสภาเห็นชอบต่อไป

วันที่ 11 ตุลาคม 2553 วุฒิสภาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จำนวน 9 คน ตามที่ ครม.เสนอ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301